One’s Essentials : งาน Craftmanship และ Concept ที่ว่าด้วยเรื่องของการ Celebrate ความเป็นผู้หญิงและความหวังจากสงคราม

by The Continuum

One’s Essentials

One’s Essentials เกิดขึ้นจากไอเดียส่วนตัวของทั้ง (ไอซ์) ศรันรัตน์ พรรจิรเจริญ และ (ชารีฟ) ชารีฟ ลอนา ที่มี Background การทำงานดีไซน์ที่ต่างกัน แต่มี Mutual interest ที่เหมือนกัน และต่างคนก็ชอบเรื่องของ Fashion เป็นทุนเดิม และสินค้าของ One’s Essentials คือเสื้อผ้าจะต้องตอบโจทย์ทุกคน และเป็นสิ่งที่สวมใส่ได้ตลอด ดังนั้น One’s Essentials จึงเป็นแบรนด์ที่สะท้อนทัศนคติของแบรนด์และทัศนคติของลูกค้าที่เลือกซื้อเสื้อผ้าที่มีความจำเป็นที่จะต้องสวมใส่

ถึงแม้ว่า Base ของแบรนด์จะมาจากเสื้อผ้าผู้ชาย แต่งาน Design ที่เห็นใน Capsule Collection นี้ จะเห็นได้ว่ามีความ Timeless และพูดเรื่องฟังก์ชั่นมาเสมอ โครงสร้างของเสื้อผ้าจะไม่ได้บ่งบอกเพศว่าเป็นเสื้อผ้าของผู้หญิงหรือผู้ชาย One’s Essentials จึงมองถึงผู้หญิงที่สนใจ Character เหล่านี้ และอยากให้ทุกเพศสวมใส่ได้เหมือนกัน

ที่ผ่านมา Goal ของแบรนด์ ค่อนข้างจะ Serve กับอะไรที่ค่อนข้างจะ Luxury หรือมีกลุ่ม Target ที่ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งทั้งคู่รู้สึกว่าอยากทำงานดีไซน์ที่สามารถทำให้คนเข้าถึงงานที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับงาน Luxury ได้เช่นกัน ผ่านงานเสื้อผ้าใน Capsule Collection นี้

Mutual interest คือ จุดแข็งของเรา

ทั้ง 2 คน รู้จักกันจากเพื่อนสู่เพื่อน และเริ่มทำงานด้วยกัน ทั้งคู่เป็นคนมีพื้นฐานความชอบเรื่อง Design ที่คล้ายกัน และทั้งคู่เริ่มต้นทำงานในวงการ Fashion Designer และ Architecture จากศูนย์เช่นเดียวกัน

การตามหาฝันของทั้ง 2 คน เริ่มต้นจากการนั่งรถไฟมาเรียนที่กรุงเทพ เหมือนกับลูกชาวบ้านที่อยากทำงานดีไซน์ จึงลองดูสักตั้ง เมื่อมาคุยกันและสนิทกันมากขึ้นทำให้เข้าใจกันและอยาทำอะไรร่วมกัน เพื่อทำให้งาน Design ของไทย สามารถไปได้ไกลมากขึ้น ด้วย Passion ที่แข็งแกร่งของทั้ง 2 คน จึงกำเนิดเป็นแบรนด์ One’s Essentials จนทุกวันนี้

Designer และ Architecture อาจจะดูเป็น scale ที่ต่างกันด้วย Context หรือ Cultural ที่ต่างกัน แต่ถ้ามองด้วยเรื่องของ Structure เราจะมองเห็นเรื่องของสรีระหรือฟังก์ชั่นที่คล้ายๆ กัน ซึ่งการมี Mutual interest ที่เหมือนกัน นั่นทำให้เป็นจุดแข็งของแบรนด์ มองเห็นในสิ่งที่อีกคนหนึ่งมองไม่เห็น เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ทั้งคู่มองภาพได้กว้างมากขึ้น เหมือนมองจากข้างนอกไปข้างในหรือข้างในออกไปข้างนอก ทำให้ทั้งคู่เจอ Balance ในการทำงานส่วนนี้

ความชอบที่เหมือนกันของทั้งคู่ทำให้ทุกอย่างแข็งแรงขึ้น และความชอบที่ต่างกันทำให้ได้เจออะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ เพราะในการทำแบรนด์จะต้องพัฒนาไปตามโลก ตามกระแส ซึ่งทั้งคู่ใช้ความชอบที่เหมือนกัน และใช้การเสพ Fashion ที่ต่างกัน เอามาเป็นตัวที่ทำให้ตัวของแบรนด์มีกลิ่นอายของความเป็น Fashion มากขึ้น

รู้ว่าเสี่ยง แต่คงต้องขอลอง

การเลือกซื้อสินค้าของคนในปัจจุบัน ทุกแบรนด์ก็ต้องเจอ Effect กันอยู่แล้ว แต่ One’s Essentials เองก็สามารถผ่านมาได้ เหมือนว่า Trend หรือลูกค้าจะเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อไปเป็นแบบไหน… Fashion ก็ขึ้นอยู่กับ Culture และ Trend ก็เปลี่ยนตลอดเช่นกัน

ตอนแรกทั้งไอซ์และชารีฟคิดว่า…คนจะออกมาใช้เงินกันไหม? แค่ช่วงแรกที่เป็น After shock คนต้องรีบออกมาใช้จ่าย แต่ตอนนี้พฤติกรรมการซื้อของคนเปลี่ยนไป ทุกคนเริ่มชินกับการซื้อของหรือเสื้อผ้าออนไลน์ไปโดยปริยาย

“ บางอย่างมันโดน Freeze ไป เรื่อง Cultural บางอย่างมันหมุนไม่เร็วพอ เราเชื่อว่า Culture ในทุกๆ Design ไม่ว่าจะเป็น Architecture หรือ Interior หรือ Fashion เอง มันไม่ได้หมุดเร็วเหมือนเดิม เหมือนทุกอย่างมันโดน Freeze ไว้และค่อยๆ เป็นไป ”

ด้วยความโชคดีอีกหนึ่งอย่าง One’s Essentials ไม่ได้ทำเสื้อผ้าที่เป็น Seasons อยู่แล้ว เพราะมองว่าการปล่อย Collection เสื้อผ้าออกมาครั้งใหญ่ 1 ครั้งภายในปี เหมือนกับการหว่านแหและปลาได้ปลามาจำนวนเยอะ และต่อไปหว่านแหอีกรอบปลาก็ไม่มีเหลือ จะใช้เหยื่อดีๆ ครั้งเดียวไม่ได้

จึงทำให้ทั้งคู่ตัดสินใจทำเสื้อผ้าที่เป็น Capsule Collection ที่ปล่อยออกมาเรื่อยๆ เพื่อให้มีพื้นที่ที่ทำให้สามารถไตร่ตรองหรือแก้ไขปัญหาโดยตรงกับสิ่งที่ปล่อยขายไปล่าสุดได้ทันตามลูกค้าและตามกระแสโลก อาจจะไม่ได้ income มาก แต่ถ้า Income วิ่งเข้ามาตลอด ทำให้ One’s Essentials สามารถ Forecast มาได้ตลอด

ทำไมต้องเป็น ToeyToeyToeyToeyToey

โปรเจคการทำเสื้อผ้าของ One’s Essentials เกิดมาในช่วงโควิดที่ผ่านมา ทั้งไอซ์และชารีฟ รู้สึกว่าต้องหาอะไรทำ จึงมีความคิดที่อยากทำงานร่วมกับ Artist และมากไปกว่านั้น คือการมองหา Collaborator มาตลอด และคิดว่าถ้าทำแบรนด์จริงๆ ก็อยากจะมี Community ที่มากกว่าที่ตัวเองทำกันเอง ทั้งคู่มองหาว่าใครมี Potential ที่เหมาะกับแบรนด์

ด้วย Character เสื้อผ้าเองก็จะมีความนิ่งเป็นทุนเดิม Capsule Collection นี้ จึงอยากให้เป็นของที่น่าจะสม งานส่วนใหญ่ของ One’s Essentials เป็นงานขาว – ดำ ประจวบเหมาะกับเตยที่วาดงานขาว-ดำเป็นหลัก ทำให้งานที่เห็น Inspire มาจากธรรมชาติ หรือบรรยากาศที่โรแมนติกอะไรบางอย่าง แต่ภาพรวมก็ยังมีความ Modern

ทั้งคู่รู้สึกว่างานของเตยนิ่งและยิ่งเอามาทำเป็นเสื้อผ้าก็ไม่ได้ดูเกินเสื้อผ้า เพราะเอามาใส่แล้วมันไม่ได้เป็นลายที่ตะโกน ยังสามารถไปกับตัวสินค้าได้ ด้วยความที่อยากทดลองอะไรใหม่ๆ จึงได้ เตย สุทธิภา คําแย้ม มาร่วม Project นี้ด้วยกัน

ในความละเอียดลออของลายวาด เป็นเรื่องเดียวกับการทำเสื้อ เพราะเสื้อของ One’s Essentials จะ Serious ในเรื่องของฝีเข็มการตัดเย็บ ทั้งไอซ์และชารีฟจะดูเรื่องการผลิตอย่างละเอียด หลักๆ แล้ว One’s Essentials ทำเสื้อผ้าผู้ชายแต่ก็สามารถเป็น unisex ได้ด้วย และปีนี้ก็อยากจะ Empower Female Artist จึงมองหา Artist ที่เป็นผู้หญิง เพราะอยาก Celebrate ความเป็นผู้หญิงที่ไม่ได้ใช้ความเป็น Feminine จ๋า แต่จะใช้ Craftsmanship ต่างๆ นำมาเป็นจุดหลักในการร่วม Collab กับแบรนด์

และลายที่เตยวาด จะมีความเป็น unisex และมีความเป็น universal ใช้กับผ้าหรือ Printing อย่างอื่นก็ได้ เป็นการดีที่จะ Celebrate ความเป็น Women บน Structure ที่เป็นความ Masculine ของเสื้อผ้า แต่ว่าใช้ลายเส้นหรือ Inner ที่มาจากผู้หญิง

โรงเรียนที่ดีที่สุด คือ การเรียนรู้ที่จะทำงานกับผู้อื่น

“ โรงเรียนที่ดีที่สุด…ในอายุหรือชั่วโมงงานที่เราไม่สามารถไป Take Course ได้แล้ว มันคือการ Collaboration การที่ทำให้เราได้เรียนรู้นอกเหนือจากตัวเองได้ดีที่สุด ถ้ามันออกมา Success ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้ามันออกมา Fail ก็ถือว่าเป็นบทเรียน และอย่างน้อยเราก็ได้ทำอะไร ”

การทำงาน Collaboration มีข้อดีและข้อเสียแน่นอน เพราะหากเรา Set ตัวเองว่าเรายังอยากจะพัฒนาฝีมือตัวเองไปตลอด เรารู้สึกว่าไม่มากก็น้อยได้แลกเปลี่ยนความรู้ของตัวเองกับคนอื่น และโลกของอุตสาหกรรมงานดีไซน์…ไม่มีใครเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เป็น Multidisciplinary คนจบกราฟฟิกออกมาทำ Product หรือ คนจบ Product ออกมาทำ Interior ก็มีเยอะแยะ

การทำเสื้อผ้าในยุคเป็นอะไรที่ยากมาก เพราะต้องคุยกันแบบ Online อย่างเดียว “ การปรับตัว ” คือคำตอบของ One’s Essentials เพราะการทำงานร่วมกับศิลปินอย่างเตย และการเอาลายใน Scale ที่ใหญ่ระดับ Painting มาวางใน Scale ของงานเสื้อผ้า ไม่สามารถเอางาน Paint มาทาบได้จริง และเป็นอะไรที่คุยกันไม่สะดวกเท่ากับคุยตัวต่อตัว

ทั้งไอซ์และชารีฟต้องย่อ Scale มาทาบและต่อลายกันเองและคุยกับเตยผ่านระบบ Online อยู่ตลอดเวลา เพราะบางงานมีขนาดใหญ่เพื่อ Printing จะเป็นงานที่สวย แต่หากบางงานใหญ่ไปและมาอยู่บนเสื้อผ้าก็จะไม่เหมาะกับ Scale ของคน

โจทย์หิน “ Roses of no man’s land ”

“ Roses of no man’s land คือ Keyword ของงานนี้…พูดถึงผู้หญิงที่เสียสละที่ไปอยู่ด้านหน้าในสงคราม มีทั้งพยาบาล คนที่ดูเรื่องของ First age มีคนที่ย้ายหรือเตรียมอาหารให้กับผู้ป่วยหรือกองกำลังทหาร

โจทย์หลักของ Capsule Collection นี้คือการ Celebrate ความเป็นผู้หญิง ทั้งไอซ์ ชารีฟ และเตย ได้ถกเถียงไอเดียของแต่ละคน จนได้ข้อสรุปที่อยากจะพูดถึงสัญลักษณ์บางอย่าง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นผู้หญิงและความเข้มแข็งในเวลาเดียวกัน

เวลาคนหดหู่จากสงคราม ดอกไม้ต่างๆ ที่ขึ้นตามทุ่งหญ้า กลายเป็นความหวังและเป็นแสงสว่างในชีวิต จึงเกิดเป็นสัญลักษณ์สากลที่สื่ออกมาในรูปแบบของดอกไม้ เช่น ดอกกุหลาบหรือดอกป๊อปปี้ นั่นหมายถึงการเสียสละ รวมถึงซากฟอสซิล ที่สื่อถึงความสูญเสียของผู้กล้าทั้งหลาย

One’s Essentials เลือกใช้สัญลักษณ์เหล่านี้อยู่บนความงามที่เป็น Monotone เช่น ใช้งานสีดำบนสีขาว หรือเป็นสีเดียวกันทั้งหมดอยู่บนพื้นสีกากี หรือแม้แต่ของงานดีไซน์เอง เช่น กระเป๋าของคนที่อยู่บน Work field ถูกเอามาแปะบนหน้าอกที่อยู่ใน Scale ที่ใหญ่ขึ้น หรือลายดอกไม้เอง ก็จัด Positioning ให้มันเหมาะสม

ผลงานชิ้นนี้…เตยใช้เทคนิคใหม่ที่ไม่เคยใช้มาก่อน คือไม้ไผ่จุ่มหมึกและวาดลวดลายลงไปบนกระดาษไม้ไผ่ ซึ่งทั้งหมดมันเป็น Texture ที่ควบคุมไม่ได้ เพราะเวลาหมึกไหลไปตรงไหนก็ต่อลายตรงนั้น จะมีความหนา ความลึกของภาพและสร้างฟอร์มของมันด้วยตัวเอง

ทั้งไอซ์และชารีฟ ทั้งคู่มีความ Craftsmanship ในงานของตัวเองกันอยู่แล้ว เมื่อทำสินค้า Exclusive กับทาง The Continuum จึงนำความ Craftsmanship มาใช้กับ Capsule Collection นี้ สินค้า Exclusive ที่เห็นใช้วิธีการ Handprint จากปรมาจารย์ทางด้านการทำงานพิมพ์โดยเฉพาะ จะเห็นจากความต่อเนื่องของลายเส้น ละเอียดที่สุด ราวกับเตยวาดมาใส่ลงบนเสื้อ

กว่า 80 % ของ Capsule Collection นี้ ใช้วิธีการ Handprint ทั้งหมด เหมือนกับเราซื้องาน Painting ที่สามารถสวมใส่ได้ One’s Essentials อยากเก็บความ Strong ของลายเส้นหรืออารมณ์ที่เตยได้เล่าออกมาอย่างชัดเจนผ่านลายผ้า จึงเกิดเป็น Exclusive Product เหล่านี้ขึ้นมา

The Continuum

Platform ที่มีคุณภาพกับงาน Design มากๆ และทั้งคู่มองว่าเป็นพื้นที่ให้เราได้โชว์ความเป็น Creative บนงานขายได้ค่อนข้างเยอะกว่า Platform ทั่วไป และมีคนอื่นที่เป็นพวกเดียวกันและเห็นด้วยกับเรื่องที่เราทำ

“ The Continuum เป็น Platform ที่ทำ Content หรือทำ Image หรือภาพปรากฎต่อสายตาผู้คนได้น่าสนใจ และวิธีการสื่อสารที่ตรงไปตรงมา ชัดเจน เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่วัยรุ่น และเราก็อยากสื่อสารกับคนใหม่ๆและเรารู้ว่า The Continuum ก็จะเป็นช่องทางที่จะสื่อสารไปด้วยกันและก็น่าจะเกิดอะไรบางอย่างหลังจากนี้ ”

The Continuum เป็นเหมือนเป็นกลุ่มสังคมที่อยู่ในงานของตัวเอง พอมาไหลรวมกันใน The Continuum ก็จะเกิดเป็นกลุ่มสังคมใหม่ที่กระจายออกไป และเพิ่ม Possibility ต่างๆ ที่ไม่ได้มีขอบเขตที่จำกัด เหมือนการรวมเพื่อนบ้านจากหลายๆ หมู่บ้านมาอยู่ด้วยกันและเป็นสิ่งที่น่าสนใจ

คาดหวังแค่ไหนกับ Collection นี้?

ใน Capsule Collection นี้ ทั้งคู่ดีใจมากที่ได้ทำงานกับคนเก่งๆ การคาดหวังของทั้งคู่คือ คนที่ไม่เคยชอบงาน หรือไม่เคยมองเห็นความเป็นไปได้กับงาน Design เช่นการเอา Painting หรือ Drawing มาอยู่บนเสื้อผ้า เป็นสิ่งที่ทั้งคู่อยากให้เปิดใจ อย่างน้อยก็จะเป็นหนึ่งใน Inspire คนให้ลองคิดอะไรนอกกรอบ และทุกอย่างสามารถเป็นไปได้

One’s Essentials แค่อยากให้คนรู้สึกว่า…งานชิ้นนี้เขามอบความสุขกับการที่ซื้อไปแล้วคุ้มค่า ได้ทั้งคุณภาพของงานเตยและคุณภาพของงานเสื้อผ้าที่ทั้งคู่ตั้งใจทำ นี่เป็นความคาดหวังมากกว่าการคาดหวังอื่นๆ ไม่อยากให้คนที่ซื้อไปแล้วรู้สึกว่ามันสวยแค่รูปถ่าย

งาน Craft ของไทย ก็เป็น Luxury Quality Design ได้

“ อยากให้คนรู้สึกว่า Design ไทย หรือ Artist ไทย ก็สามารถตอบโจทย์ Quality Design ได้ ”

ถ้าหากว่าเราต้องไปซื้อแบรนด์อื่นๆ ที่มีความ Painting ที่เป็นแบรนด์เมืองนอก ชารีฟรู้สึกว่า…เราก็สามารถหา Thai Designer ที่สามารถทำสิ่งนี้ได้ และทำในแบบที่ใช้ความสามารถของ Artist และใช้เทคโนโลยีหรือใช้ช่างไทยที่เราหาได้ในบ้านของเรา และในโอกาสหรือเวลาที่เหมือนมีข้อจำกัดในช่วงโควิดด้วย ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับคนทำงานเช่นกัน ถ้าเขาได้ซื้อไปเชื่อว่าเป็นเสื้อผ้าที่น่าเก็บและใส่มันได้ตลอด

เพราะงาน Craft ก็มี Potential ที่จะให้มี Innovative มากขึ้นได้ นี่เป็นเรื่องที่ทั้งไอซ์และชารีฟกำลังสนใจในเรื่องนี้กันอยู่ แรกเริ่มก่อนที่จะทำเสื้อผ้า One’s Essentials จะทำงานที่เป็น Wearable Piece หรืองาน Functional Piece หมดเลย เราจะทำเป็น Lifestyle Product

แต่ทั้งคู่คิดว่าถ้าเกิดทำทุกอย่างพร้อมๆ กัน เราอาจจะไม่ได้รู้เลยว่าสิ่งไหนที่เราถนัดจริงๆ หรือสิ่งที่เราควรจะFocus ก่อน ถ้าเห็นใน Collection แรกที่ทั้งคู่ทำเป็น Showcase ก็ไม่ใช่แค่เสื้อผ้าแค่เรื่องเดียว แต่คือการเอาเสื้อผ้าไปอยู่ใน Environment ที่เป็น Gallery Space และมี Furniture ที่ถูกดีไซน์ขึ้นมา และของพวกนี้เป็น Sustainability ที่ทำงานร่วมกันกับโรงงาน สิ่งที่ทั้งชารีฟและไอซ์ อยากทำมาโดยตลอด คือการ Coexist คนหลายๆ แบบ ให้มาอยู่ในในเรื่องเดียวกันให้ได้

“ เพราะทุกๆ งานของ One’s Essentials มี Layer ของคนหลายๆ คน ที่ทำให้ส่วนประกอบของงาน Design สามารถดันให้ไปเจอกับอีกงาน Design หนึ่งได้ ซึ่งถ้าเราขีดข้อจำกัดของตัวเองให้อยู่ในสิ่งที่ตัวเองทำได้อย่างเดียว ทำสิ่งเดิมซ้ำๆ เราอาจจะไม่ได้ Success ในสิ่งนั้น เราก็เลยมองว่าเราก็ยังอย่ากจะทำแบบนั้นอยู่ และจะทำมันต่อไป ”

other story

“ถ้าดอกไม้ไม่ได้ใส่ในแจกัน แล้วดอกไม้จะใส่ในอะไร!?” คำตอบของคนเซรามิกต่างขั้วและคำถามสุดกวนกับ Flowers in the vase

Flowers in the vase แบรนด์ที่เล่าเรื่องผ่านความสวยงามของธรรมชาติด้วยเทคนิค Nerikomi ในงานเซรามิกกับแรงบันดาลใจจากท้องฟ้าและสิ่งต่างๆ รอบตัว

Explore

Yarnnakarn ลูกผสมระหว่างงาน Hand Craft และ Techno Craft ผู้เปลี่ยนความไม่สมบูรณ์ของเซรามิกให้เป็นเสน่ห์ที่น่าจดจำ

บทสัมภาษณ์ของ "ยานณกาล" ผู้เปลี่ยนความผิดพลาดของการทำงานจากธรรมชาติ ให้เป็นห้วงเวลาแห่งความทรงจำที่เสน่ห์ในตัวเองในรูปแบบของงานเซรามิก

Explore

Shopping cart0
There are no products in the cart!
Continue shopping