Trompe-l’œil ศิลปะแห่งการเลียนแบบความจริงด้วยการลวงตา

by ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์

หลายคนคงเคยเห็นภาพวาดที่เหมือนจนหลอกสายตาของเราว่าเป็นของที่มีอยู่จริง อันที่จริง เทคนิคการวาดภาพในลักษณะนี้นั้นมีมาแต่ยุคสมัยโบราณแล้ว โดยเป็นการสร้างภาพลวงตาให้ดูเหมือนเป็นภาพสามมิติด้วยเทคนิคการวาดภาพเหมือนจริง โดยการใช้ทัศนียภาพ สีสัน แสงเงา น้ำหนัก ลวงตาให้ภาพวาดสองมิติแบนๆ ดูมีปริมาตร ความหนา ความลึก และมิติจนดูเหมือนเป็นวัตถุหรือสถานที่ที่มีอยู่จริง

…เทคนิคการวาดภาพในลักษณะนี้มีชื่อเรียกว่า…

Trompe-l’œil
(ทรอมพ-เลย)
แปลจากภาษาฝรั่งเศสได้ว่า

“หลอกตา”

เทคนิคนี้สามารถสืบสาวกลับไปถึงยุคกรีกและโรมันโบราณ อย่างเช่นงานจิตรกรรมฝาผนังในซากโบราณสถานปอมเปอี (Pompeii) อิตาลี มีการขุดค้นพบผลงานภาพวาดฝาผนังปูนเปียก (Fresco) ในลักษณะ Trompe-l’œil รูปหุ่นนิ่ง หรือภาพประตู หน้าต่าง และโถงทางเดินของอาคารบนผนังทึบๆ เพื่อหลอกตาให้ห้องดูกว้างขึ้น

https://en.wikipedia.org/wiki/File:Victor_Mottez_zeuxis.jpg

Zeuxis VS Parrhasius

มีเรื่องเล่าคลาสสิคของสองจิตรกรเอกในยุคกรีกโบราณ (สมัย 464 ปีก่อนคริสตกาล) อย่าง ซยุกซิส (Zeuxis) และ ปาราซิอุส (Parrhasius) ผู้ชิงดีชิงเด่นกันอย่างไม่มีใครยอมใคร ว่ากันว่าในการแข่งขันครั้งหนึ่งของทั้งคู่ ซยุกซิสประเดิมด้วยการวาดภาพหุ่นนิ่งได้เหมือนจริงเสียจนนกหลงบินลงมาจิกพวงองุ่นที่อยู่ในภาพเลย

ส่วนปาราซิอุสนั้นยกภาพวาดที่มีผ้าม่านปิดคลุมออกมา แล้วขอให้ซยุกซิสเลิกผ้าม่านออก เพื่อตัดสินภาพวาดของเขาที่ซ่อนอยู่ข้างหลัง แต่ไม่ว่าซยุกซิสจะพยายามเลิกผ้าม่านออกอย่างไรก็เลิกออกมาไม่ได้ เพราะอันที่จริงแล้วผ้าม่านนั้น คือภาพที่ปาราซิอุสวาดหลอกตาขึ้นมานั่นเอง (เหนือเมฆจริงๆ) ทำให้ปาราซิอุสชนะการแข่งขันครั้งนั้นไปในที่สุด

Escaping criticism (1874)
https://the8percent.com/artwork-of-the-week-escaping-criticism/

บอร์เรล เดล กาโซ
(Pere Borrell del Caso)

บางครั้งภาพวาดแบบ Trompe-l’œi ก็ถูกทำขึ้นในลักษณะที่แฝงอารมณ์ขันอันพิสดาร ดังเช่นในผลงานของศิลปินชาวสเปน ภาพวาดสีน้ำมันที่ใช้เทคนิคการลวงตาของกรอบรูป (ที่ถูกวาดขึ้น) และการวาดภาพบุคคลในภาพทับบนกรอบรูปอีกที โดยทำเหมือนกับว่าตัวละครในภาพวาดกำลังปีนออกมามาจากภาพวาดสู่โลกแห่งความเป็นจริงได้ยังไงยังงั้น!?


ยัน ฟัน ไอก์
(Jan van Eyck)

ศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานในช่วงยุคสมัยจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก (Early Netherlandish painting) ที่วาดฉากแท่นบูชาของรูปสลักทูตสวรรค์และพระแม่มารีได้เหมือนราวกับเอาของจริงมาวางไว้ข้างหน้า จนเรียกได้ว่าเทคนิคหลอกตา ได้อย่างไรที่ติ

The Annunciation Diptych (1433 – 1435)
https://www.museothyssen.org/en/collection/artists/eyck-jan-van/annunciation-diptych

ในปัจจุบัน เทคนิค Trompe-l’œi ไม่ได้ถูกสงวนเอาไว้แต่ภาพวาดสีน้ำมันที่แสดงอยู่ในหอศิลป์หรือพิพิธภัณฑ์
หากแต่แพร่หลายไปสู่ศิลปะบนท้องถนนอย่างสตรีตอาร์ตหรือกราฟฟิติ้ด้วย อย่างเช่นผลงานของศิลปินชาวมาลากา (เมืองท่าในแคว้นปกครองตนเองอันดาลูซิอาทางภาคใต้ของประเทศสเปน)

ฆูลิโอ อนายา กาบานดิน
(Julio Anaya Cabanding)

ที่ศิลปินอีกท่าน ที่สร้างสรรค์ภาพวาดชิ้นเอกสุดคลาสสิคในประวัติศาสตร์ศิลปะขึ้นใหม่บนพื้นที่สาธารณะ หรือพื้นที่รกร้างต่างๆ ด้วยการใช้เทคนิค Trompe L’oeil

https://www.booooooom.com/2019/04/01/artist-spotlight-julio-anaya-cabanding/

วาดภาพงานศิลปะชื่อดังเหล่านั้นขึ้นมาใหม่บนผนังตึกร้างทรุดโทรม, แผ่นคอนกรีตกันคลื่นริมทะเล, กำแพงที่เต็มไปด้วยรอยขีดเขียนพ่นกราฟฟิตี้ หรือแม้แต่ห้องนอนในบ้านเพื่อนของเขา แล้วเขาก็ไม่ได้วาดแค่ตัวภาพวาดอย่างเดียว หากแต่วาดกรอบของผลงานเหล่านั้นออกมาในลักษณะที่เหมือนจริงราวกับเป็นภาพวาดใส่กรอบจริงๆ ที่แขวนในหอศิลป์หรือพิพิธภัณฑ์อันหรูหรา ด้วยความที่เขาทำผลงานออกมาอย่างประณีตพิถิพิถันจนทำให้คนที่ได้เห็นมักจะคิดว่าเป็นภาพวาด (และกรอบรูป) ของจริง หรือไม่ก็เป็นภาพถูกทำขึ้นด้วยโปรแกรมโฟโต้ช็อปเลยทีเดียว

https://mymodernmet.com/vile-graffiti-illusion-art/
https://mymodernmet.com/vile-graffiti-illusion-art/

ไวล์
(Vile)

ศิลปินกราฟฟิตี้สัญชาติโปรตุเกส ที่วาดภาพ Tag หรือลายเซ็นประจำตัวของเขาเอาไว้บนผนังและกำแพงอาคาร ทั้งที่มีเจ้าของ หรือที่รกร้างว่างเปล่าทั่วยุโรป ด้วยการใช้เทคนิคอันชำนิชำนาญในการสร้างภาพลวงตาของมิติและความลึกในช่องว่างของตัวหนังสือแท็กที่เขาวาดบนผนังกำแพงเหล่านั้น ไวล์เนรมิตภาพจำลองภายในช่องว่างของตัวหนังสือชื่อแท็กของเขา ทั้งในรูปของหินและอิฐแตกระแหง, ภาพวาดช่องเจาะรูปตัวหนังสือที่ดูราวกับจะเดินทะลุออกไปอีกห้องได้ หรือกาแล็กซีที่ระยิบระยับอยู่เบื้องหลังกำแพงคอนกรีต

แล้วก็ไม่ใช่แค่เพียงในวงการศิลปะเท่านั้น เทคนิค Trompe-l’œi ยังถูกนำมาใช้ในวงการอื่นๆ อย่างเช่นในวงการภาพยนตร์ ในยุคสมัยที่ยังไม่มีเทคนิค CGI ใช้กันอย่างในทุกวันนี้ งานเทคนิคพิเศษ หรือที่เรียกกันว่า VFX (Visual Effect) นั้น

ล้วนถูกวาดด้วยมือขึ้นมาทั้งสิ้น อย่างเช่นในหนังไตรภาคแรกของ Star Wars ฉากห้วงอวกาศอันไกลโพ้น หรือฉากหลังที่เป็นฐานทัพของจักรวรรดิและฝ่ายต่อต้านในหนัง ก็ล้วนแล้วแต่เป็นการวาดฉากหลังลวงตาขึ้นมา

หรือแม้แต่ในวงการโฆษณาสมัยก่อน ฉากที่ใช้ในการถ่ายทำสินค้าในรูปแบบต่างๆ ก็ใช้การวาดภาพลวงตาขึ้นมาเหมือนกัน แล้วก็ไม่ใช่มีใช้กันแต่ในอดีตเท่านั้น ในปัจจุบัน…วงการโฆษณาก็ยังมีคนใช้เทคนิคแบบนี้กันอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน นัยว่าเป็นการถวิลหาอารมณ์แบบย้อนยุค ดังเช่นโฆษณาแคมเปญล่าสุดของเรา

โปรเจคที่ The Continuum ร่วม Collab กับเหล่าแบรนด์ไทยหัวก้าวหน้าร่วม 12 แบรนด์ ที่คลอดสินค้าสุด Exclusive เพื่อขายสินค้าสุดพิเศษเฉพาะที่ The Continuum ที่เดียวเท่านั้น! ไม่ว่าจะเป็น

  1. SONGBIRD
  2. THE NAVY
  3. MAYA WONG
  4. ADI STUDIO
  5. THANIYA1988
  6. BANGKOK WET DREAM

7. BAAN BOON
8. MO JIRACHAISAKUL
9. ONE MORE THING
10. RUBBER KILLER
11. ART ATLAS ATRLIRE
12. CITIZEN OF NOWHERE

สินค้าหมวด Fashion ที่ร่วมสร้างปรากฎการณ์ใหม่ สำหรับการขายสินค้าออนไลน์ ในแพลทฟอร์มที่เปรี้ยวที่สุด และกวน xxx ที่สุดกับ The Continuum ที่มีคอนเซ็ปในการเลือกสรรค์แบรนด์โดยคำว่า “ Curated Asian goods with the attitude ” กับภาพ Editorial Set โดยโจทย์ที่ The Continuum อยากนำมาเล่นกับ Brand Partners ทั้ง 12 แบรนด์นี้ คือ “ลีล่า จังจรรจา” กับวลีเด็ดที่ว่า “คุณพี่โทรจากจังหวัดอะไรคะ ?!”

การถ่ายภาพสำหรับแคมเปญนี้ The Continuum เลือกฉากอมตะที่หลาย ๆ คนคุ้นตาผ่านรายการเคเบิลสุดแซ่บ อย่าง “HOT TV” รายการรับปรึกษาปัญหาด้านกฎหมาย และการขายของแบบโต้ง ๆ ตรงไปตรงมาของคุณแม่ลีน่าจัง ที่เป็นไวรัลในทุกครั้งที่ปรากฎตัว

กลิ่นอายของทั้งแสงและสีของฉากสวนดอกทิวลิปที่บานสะพรั่ง (สวนเคอเคนฮอฟ) ของคุณแม่ลีน่าจัง บวกกับเทคนิคการสาดแสงที่ “แรง” เหมือนฝีปากในการขายของ “สด” เหมือนสินค้าสุด Exclusive สำหรับ The Continuum และ “ใหม่” สำหรับแพลทฟอร์มการขายออนไลน์ที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน นั่นเอง

ข้อมูลอ้างอิง
https://en.wikipedia.org/wiki/Trompe-l%27%C5%93il
https://www.thisiscolossal.com/2018/11/trompe-loeil-replicas-of-masterpieces/
https://mymodernmet.com/vile-graffiti-illusion-art/
https://www.thisiscolossal.com/2019/09/vile-graffiti/



other story

เมื่อศาสตร์โบราณอย่าง “ไพ่ทาโร่” ต้องพึ่งเทคโนโลยียุคใหม่กับโลกที่มองไปทางไหนก็ต้องพึ่ง “ดวง”

เมื่อศาสตร์โบราณอย่าง “ไพ่ทาโร่” ต้องพึ่งเทคโนโลยียุคใหม่กับโลกที่มองไปทางไหนก็ต้องพึ่ง “ดวง” และบทสัมภาษณ์หมอดูยุคมิลเลเนียล 2 ท่าน คนหนึ่งเริ่มจากการไม่เชื่อ แต่อีกคนเชื่อมาก ๆ คนหลายเป็นหมอดูซะเอง

Explore

“ผีขนุน” – ลำพังบุญและเงินคงไม่พอ

JACKFRUITA FANTASMA หรือ โชคดีผีขนุน คอลเลคชั่นใหม่จากแบรนด์ One More Thing (OMT) แบรนด์สิ่งทอสุดเกรียน กับผ้าทอที่ว่าด้วยเรื่อง โชคลาภ โชคลาง โชคดี และ ผีขนุน จะพาท่านไป Up all night to get Lucky กับงานทอที่ทอแบบโคตรบิดาโคตรมารดาละเอียด ทอรูปโบราณ ทองานคอลลาจ ถ้าเอาสายสิญจน์ทอเข้าไปได้ ป่านนี้ก็คงเอาเข้าไปทอด้วยแล้ว

Explore

Shopping cart0
There are no products in the cart!
Continue shopping