FABCAFE กับเรื่องล้ำๆ ของ Maker Space ที่จะ Transfer มนุษย์ไปยัง Internet ได้จริงในโลกอนาคต

by The Continuum

– เรามองว่า FabCafe เป็น Supporter หรือ Platform ให้คนเข้ามาทำงานด้วยกัน เพื่อให้ดีไซน์เนอร์ทุกคนที่อยากจะทำงานหรือเรียนรู้ทางด้าน Design และ Technology สามารถเข้ามาเจอกัน แล้วก็สร้างสิ่งใหม่ๆ ได้ –

เรียก Maker Space แห่งนี้ว่า FABCAFE

เปิดที่ญี่ปุ่นก่อนจะครบ 10 ปีในปีหน้า (2022) ถ้าในไทยก็ครบ 8 ปี พื้นที่ส่วนใหญ่ของ FabCafe หรือจะเรียกว่า Maker Space ก็ได้ โดยก่อนหน้าเราจะมีอยู่ 3 อย่าง คือ

– FabCafe จะเป็นส่วนกลาง
– Maker Space จะทำเป็น Hobbies ไม่ได้ทำเป็นธุรกิจ
– Tech Shop ก็คือเป็นบริษัทที่ชื่อ Tech shop ของอเมริกาที่ขายเครื่องจักรแล้วก็มาทำพื้นที่อะไรประมาณนี้

เพราะเราเป็นพื้นที่ Commercial Life เจ้าแรกในไทย เคยถึงขั้นที่ว่าโอบาม่าเชิญให้ไป Pitching ที่ประเทศเคนย่าเลยทีเดียว และเราก็ Survive อยู่มาจนเกือบจะครบ 10 ปีแล้ว

Design Computation ขี้เล็บของสิงโต

ต้องขอบคุณพี่วิชญ์ พิมพ์กาญจนพงศ์ ก่อนเลย เพราะพี่วิชญ์เป็นไอดอลที่ทำให้รู้สึกสนใจเทคโนโลยี แต่โดยพื้นฐานเราก็จะชอบเครื่องจักรต่างๆ และเป็นคนชอบเรื่องนี้อยู่แล้ว เราอยู่ในโรงงานมาตั้งแต่เด็ก เลยออกไปเรียนทางด้าน Design Computation เป็นสาขาที่จะเอา Design ไปจับกับศาสตร์อื่น แล้วสร้าง Design ศาสตร์ใหม่ขึ้นมา Design

– Computation ไม่ใช่ computer นะ แต่คือ Computational การคิด กระบวนการทางความคิด –

ตอนที่จบเรียนใหม่ๆ มี EGO แรงมาก มีความมั่นใจในตัวเองสูง คิดว่าตัวเองทำได้ทุกอย่างและทำได้ดี พอเข้าไปอยู่ที่นั่น เราเลยรู้สึกว่าตัวเองเป็นขี้เล็บของสิงโต ตอนนั้นเจอเด็กที่ผลิตหุ่นยนต์ของตัวเองได้ใน 1 สัปดาห์ เลยได้รู้ว่าคนเก่งมันเก่งจริงๆ แต่เราจะเก่งแบบพยายามมากกว่า เราพยายามมากๆ แต่ก็ไม่ถึงกับท้อนะ เพราะเข้าใจว่ามันเป็นธรรมชาติของแต่ละคน

โดยเวลาเรียนจะมี 2 วิชาหลักคือ การตั้งคำถามและการเรียนรู้การถอดระบบ เช่น คณิตศาสตร์มีกระบวนการในการสร้างสูตรอย่างไร แล้วจึงนำเอากระบวนการเหล่านี้มาสร้างเป็นคอมพิวเตอร์ ถ้าสมมุติว่าคนๆ นี้ตายไปแล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะต้อง Generate ผลงานของคนๆ นี้ให้ได้ตามที่เขาทำ

Strategic Management คือวิชาที่ทำให้เราได้เจอเพื่อนๆ และได้เริ่ม FabCafe Project หรือก็คือเทคโนโลยี 3D Print นี่แหละ ซึ่งเทคโนโลยีนี้จริงๆ มันน่าจะทำเป็น Open Factory ให้คนเข้ามาผลิตของร่วมกันได้ แต่เป็นในรูปแบบ Commercial ซึ่งตอนนั้น…เราทะเลาะกันในกลุ่ม

ด้วยความที่แต่ละคนมี Idea เป็นของตัวเองก็จะตีกัน แต่สุดท้ายแล้วทุกคนก็ได้กลับมาแล้วพรีเซนต์งานจบได้ ก็เลยคิดว่าที่ทะเลาะกันขนาดนั้นแล้วทำงานร่วมกันได้ก็น่าจะทำงานร่วมกันได้ในอนาคต ซึ่งจริงๆ หายไปเกือบสัก 10 ปีได้เหมือนกันกว่าจะได้กลับมา Re Connect กัน เพราะตอนนั้นเครื่อง 3D Print ค่อนข้างแพงมาก แต่ตอนนั้นที่เริ่มมาทำคือ ราคามันเริ่มจับต้องได้แล้ว Approach ได้ คนสามารถเข้ามาใช้ได้จริงๆ ไม่ใช่แค่ระดับ Lab อย่างเดียว

Sense of Thainess ดิบและตรงไปตรงมา

– ขอเท้าความก่อนว่าจุดเริ่มต้นของ Fab คือเราคิดว่า โลกนี้ทั้งโลกคือ Office แห่งหนึ่ง ไม่ได้คิดว่าจะเปิดสาขาญี่ปุ่นแล้วต้องเปิดสาขาที่ไทย และคิดว่า FabCafe คือแผนก และแต่ละคนก็จะมีหน้าที่ตามแผนกของแต่ละคนไป และทุกคนก็ทำงานออนไลน์กันไปด้วยกันตลอด –

พอเราทำงานในลักษณะ Global แล้วมองเข้ามา เราก็จะเห็นความแตกต่างค่อนข้างชัด โดยมองว่าประเทศไทยจะดิบและตรงไปตรงมา ไม่ซับซ้อนแบบญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นจะซับซ้อน ลึกมาก ละเอียดมาก ทุกอย่างต้องถูกรื้อ รู้ไปทุกอย่าง คนไทยจะใช้ Sense หรือสัญชาตญาณดิบซะเยอะ ซึ่งมันทำให้คน Appreciate หรือเก็ทได้ง่าย มันไม่ใช่มุกที่ซับซ้อน

ความสนุกคือการได้ทำงานร่วมกับคน และได้เรียนรู้จากเขา จริงๆ หลักการของเราก็ใช้ E-mail น้อยมาก จริงๆ แล้ว Innovation เวลาทำงานมันจะค่อนข้างเร็วมากโดยเราจะใช้ทุกสื่อที่สามารถ Contact ได้ และเราก็จะ Contact ทั้งวันทั้งคืน

เพราะฉะนั้น E-mail มันจะช้าเกินไป ที่ใช้ก็คือจะเป็นการฝาก Dropbox ถ้าจะคุยก็คือแทบไม่ใช้แล้ว เช่นถ้าจะคุยกับที่ญี่ปุ่นก็จะใช้ Line โทรหาเลยเสมือนว่าอยู่ในประเทศเดียวกัน มันก็ต้องใช้ความเร็วค่อนข้างสูงเหมือนกัน อย่าง Hardware ที่เราก็ต้องทำของที่ค่อนข้างจับต้องได้ เพราะถ้าทำช้าเทคโนโลยีมันเปลี่ยนไปเร็วมาก ถ้าช้าเกิน 6 เดือนอาจจะตกไปแล้วก็ได้

– กระบวนการในการออกแบบมันมีหลากหลายมาก ไม่ได้มีแค่ Design Thinking ซึ่งเรามองว่ามันเป็นแค่การอุปโลกสูตรการออกแบบขึ้นมาอันหนึ่ง ซึ่งถ้ามีแค่อย่างเดียว…ป่านนี้ดีไซน์เนอร์ผลิตเป็นอุตสาหกรรมได้แล้ว –

Design Thinking มันเป็น Sequence ที่ทุกคนสามารถทำได้ เหมือนทำวิจัยวิทยาศาสตร์ ที่เริ่มต้นจากการตั้งคำถาม สำรวจข้อมูล รวบรวมไอเดีย Generate Idea แล้วหาไอเดียที่คิดว่าเหมาะแล้วเอาไป Test อันนี่คือกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่ใช้คำว่า Design บังหน้า ประมาณนั้น

” ก็เลยเข้าใจว่า Design Thinking มันเป็นธุรกิจที่อุปโลกขึ้นมา เจนมองว่าเป็นแบบนั้นมากกว่า “

แต่ในขณะเดียวกัน มันก็ช่วยให้คนมองดีไซน์ดีขึ้น คนที่มองว่าดีไซน์เนอร์มันแค่ขีดๆ เขียนๆ เขาก็ได้เริ่มเห็น Process เริ่มรู้ว่าไม่ใช่ว่าดีไซน์เนอร์นอนอยู่แล้วก็เอางานส่งลูกค้าได้เลย มันผ่านกระบวนการเยอะ ในการที่จะตกตะกอน นี่อาจจะเป็นข้อดีของ Design Thinking

4D pocket กระเป๋าวิเศษของโดราเอม่อน

คนที่มาใช้บริการของ FabCafe ต้องดูที่ธรรมชาติของเขา ว่าเขาชอบที่จะเล่นกับ Computer Technology หรือเปล่า?! เพราะจะมีบางคนที่สนใจ แต่ทำไม่ได้ ถ้าเป็นแบบนั้นเขาก็จะมาทำงานกับเรา กับอีกกลุ่มหนึ่งคือต่อต้านสุดขีด ไม่ชอบเลย ต้องทำงานมือเท่านั้น ซึ่งเราก็เคารพเขาเพราะคนที่มีฝีไม้ลายมือ แต่ในยุคนี้การ Combine กันก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

ลูกค้าที่มี Solution ชัดเจน อย่างเช่นต้องการออกแบบบ้าน ออกแบบเก้าอี้ หรือผลิตภัณฑ์ เราจะแนะนำให้ไปลองไปคุยกับบริษัทนู้น บริษัทนี้ที่มีความเชี่ยวชาญ ส่วนเราจะถนัดหาของที่ไม่ค่อยมีแล้ว Refine มันออกมาให้มันได้จริง แล้วส่งต่อมากกว่า

” ปกติเราจะบอกทุกคนว่าให้คิดว่า FabCafe คือโรงงานของทุกคน เหมือนคุณไม่ต้องลงทุนในโรงงาน แต่คุณมาใช้พื้นที่นี้เป็นโรงงานของคุณ ”

ใช้ที่นี่เป็น R&D ใช้ที่นี่เป็น Labs ของคุณ เราจะพยายามหาของเล่น ซึ่งไม่ได้มีแค่ 3D Print อย่างเดียว แต่เรามีหลายอย่าง เหมือนเป็นโดราเอม่อนแล้วมีกระเป๋ามิติที่ 4 อยากได้อะไรเดี๋ยวเราเอามาให้ แล้วโนบิตะก็จะวิ่งมาหาโดราเอม่อนเพื่อขอของวิเศษ แล้วคุณจะเอาไปใช้ยังไงก็เรื่องของคุณ

แล้วเราก็คอย Supervise หรือเข้ามาหาคนช่วยเขา โดยคนที่เข้ามาไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็น Designer แต่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวัสดุศาสตร์ หรือเป็นหมอก็มีมาเหมือนกัน

จุดแข็งของเราคืออะไร ในยุค COVID-19?

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “มนุษย์” อาจจะคิดว่า FabCafe เป็นพวกบ้าคลั่งเทคโนโลยีมาก ทุกอย่างต้องใช้เครื่องมือ จริงๆ จะบอกว่าพวกเราเป็นพวกห้องช่างมากกว่า มันคือ Facilities เพราะฉะนั้นถ้าไม่มี Facilities เราก็ยังทำงานได้ แต่ถ้าไม่มีคนนี่แหละจะลำบาก เพราะจริงๆ แล้วตัวขับเคลื่อนมันคือคน เพราะว่าถ้ามีคนเราก็จะสามารถสร้างเครื่องจักรได้

อาจจะเป็นโชคดีของเราด้วย ที่เรากระจายความเสี่ยงมาอยู่ในประเทศต่างๆ ตอนแรกก็อาจจะตื่นเต้นหน่อยเพราะเพิ่งเจอพร้อมกัน แต่รัฐบาลในบางประเทศที่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ส่งผลให้บางพื้นที่ของ FabCafe ดีขึ้น เราก็ย้ายไปทำงานตรงจุดนั้นได้ 

อย่างที่สองก็คือการขับเคลื่อน เป็นมายังไงไม่รู้ การเกิดโควิดมันทำให้เราหันมามองว่าจุดแข็งจริงๆ ของเรามันคืออะไร ถ้าตัดในส่วนของ Physical กายภาพออก มันเป็นเรื่องของความสนใจของเราเองด้วย ซึ่งโดยปกติความสนใจของเราส่วนใหญ่จะมาจากคนที่เข้ามาหาเรา แล้วเราสนใจอะไรนอกจากเทคโนโลยี และ การทำงานร่วมกับดีไซเนอร์ใหม่ๆ อย่างตอนนี้เราสนใจในเรื่อง Sustainability แน่ๆ

จริงๆ เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำนั่นแหละ แต่เราก็อยากจะ Put in ว่า Sustainability กับ เทคโนโลยีและตัวเราเป็นยังไง เพราะเรารู้ว่า Sustainability มีอยู่สองทาง คือ ไม่บริโภคอะไรเลย กับทำยังไงก็ได้ให้มนุษย์หายไป (ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้หรอกนะ) แต่มันก็จะค้านๆ กันหน่อย เพราะ FabCafe เราสร้างของ ผลิตของ แล้วเราจะลดการบริโภคมันก็ไม่ใช่ เพราะฉะนั้นก็ต้องกลับมาดูว่า การสร้างของปัจจุบัน มันมีวิธีการที่แบบไหนที่ดีบ้าง

Air co. วอดก้าจากอากาศ

เรื่องของการ Recomplenization การผลิตของโดยใช้วัตถุดิบสังเคราะห์ ที่ใช้ของจากธรรมชาติให้น้อยที่สุด กระบวนการที่สำเร็จแล้ว ก็มี Air Company ที่เขาเปลี่ยนออกซิเจนให้กลายเป็นวอดก้า ซึ่งตอนนี้กระบวนการพัฒนาของ Material Technology ก็จะกลับมายังต้นตอ รากฐานของวัสดุ ว่าทุกๆ อย่างของมนุษย์ก็คือมวลสาร

ซึ่งมวลสารจะมีองค์ประกอบที่หลากหลาย ถ้าเราดึงของบางอย่างแล้วคงสถานะอะไรบางอย่างไว้แล้วเอามันไปใช้ต่อ มันก็จะสามารถเอาไปใช้งานได้ และกระบวนการนี้มันก็จะมีการเกิดขึ้นพัฒนา Materials ใหม่ๆ รวมถึงอาหารด้วย Air company นี่เป็นอีกบริษัทนึงที่เราค่อนข้างชื่นชมมาก ซึ่งกระบวนการแบบนี้นอกจาก หนึ่งมันไม่ต้องใส่สารสังเคราะห์ มันก็ยังเป็นการควบคุมของที่จะทิ้งออกไปด้วยเหมือนกัน

– เราต้องเลิกมองแล้วแหละว่าเราคือคนไทย ต้องมองว่าเราเป็น Global Citizen –

ถ้าเรายังคิดว่าเราเป็นนักออกแบบไทยอยู่ เราก็จะไปเวทีโลกได้ยากมาก และเราก็จะต้องดิ้นรนมาก ทั้งๆ ที่เรามีศักยภาพเพียงพอที่จะไปในเวทีโลกได้ จะมีอะไรมาปิดกั้น ตอนนี้เราเข้า Internet ได้ เราเรียนออนไลน์ที่ไหนก็ได้ ส่งประกวดที่ไหนก็ได้

ในสถานการณ์ตอนนี้สิ่งที่เจนสอนเด็กๆ จากในสิ่งที่เจนเจอก็คือ ทุกช่วงวัยเวลามันมีค่า ไม่ว่าจะเป็นเด็กมหาวิทยาลัยที่ไม่เจอเพื่อนเลย เรียนออนไลน์ หรือเรียนจบเพิ่งทำงาน แต่ไม่กระตือรือร้นที่จะทำงานเลย เพราะนั่งทำอยู่ที่บ้าน นี่แหละตอนนี้มันมีค่า เอาเวลาที่บ่น ไปอัพเกรดตัวเอง ไปเรียนรู้ ไปหาข้อมูล และใช้โอกาสนี้ในการปรับตัว เมื่อถึงเวลาที่ทุกอย่างกลับมาเป็นปกติ เราก็จะมาด้วย Positive Energy มาเปลี่ยนแปลงใหม่ สร้างใหม่กัน

ซึ่งจริงๆ FabCafe มันมีวิธีคิด Based on อะไรแบบนี้อยู่แล้วว่าเราเป็นพลเมืองโลก Own Office is the whole world

Cybernetic Being อวตารจำลอง

” จริงๆ มันเป็นความลับมาตลอด ตอนนี้เรากำลังทำงานร่วมกับรัฐบาลญี่ปุ่นอยู่ เพราะญี่ปุ่นตั้งเป้าไว้ว่าปี 2050 เขาจะทำการย้ายคนญี่ปุ่นหรือคนบนโลกนี้เข้าไปอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้ 100% “

โครงการนี้ชื่อว่า Moonshot ก็คือเขาต้องการสร้างเทคโนโลยี ในการ Transfer พวกเรา ไปอยู่ใน Cybernetic Being สมมุติว่า Transfer เข้าไปได้ เราไม่จำเป็นต้องมีคนเดียว เราสามารถแยกร่างได้ แล้วสามารถสั่งได้ว่าหมายเลข 1 ไปส่งของ หมายเลข 2 ไปประชุม และก็มี Skill Set ที่เหมือนกัน เช่น ต่างคนต่างความสามารถ อาจจะมารวมร่างกันได้เพื่อเพิ่ม Skill หรือศักยภาพที่แต่ละคนมีอยู่ให้มาอยู่ในคนคนเดียว อันนี้คือภาพที่ญี่ปุ่นวางไว้ว่า 2050 ต้องการไปให้ถึง

ซึ่ง Timeframe 5 ปีแรกคือการ Refine เทคโนโลยี ว่าเทคโนโลยีอะไรบ้างที่จะทำการ Transfer เข้าไปอยู่ใน Cybernetic Being FabCafe ก็เข้าไปร่วมในส่วนนั้นด้วย ก็เลยเริ่มที่จะทำจาก Digital Sensory เป็น Project ที่พัฒนามาตลอด 5 ปีนี้ ก็คือการ Transfer เรื่องของกลิ่น การสัมผัส Digitype มันออกไปให้ได้ ถ้าสมมุติว่าเราจะต้อง Transfer พวกนี้ไปอยู่ในนั้นมันจะเป็นยังไง?!

ตอนนี้เราก็มีกลุ่ม Performing Art ที่จะร่วมทำงานด้วยกันเดือนหน้านี้ น่าสนใจว่าหากเราสามารถ Transfer Skill Set พวกนี้เข้าไปอยู่ใน Cybernetic Being จะเกิดอะไรขึ้น กับอีกเรื่องหนึ่งที่เรากำลังทำอยู่ก็คือการสร้างอาชีพ เพราะเมื่อเราถูกย้ายเข้าไปใน Digital Device มันจะมีเด็กที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยีก็จะถูกตัดออก หลังจากนี้ถ้าคนที่เข้าไม่ถึงตรงนี้ก็จะไม่มีงานทำ แล้วคนที่พิการทางกายภาพถ้าถูกย้ายมาแล้วเขาจะทำยังงานอะไรได้บ้าง

Project หนึ่งที่ทีมโตเกียวกำลังทำอยู่ โดยความร่วมมือจากบริษัท OryLab (Orihime) ก็คือ การทำให้คนที่เป็นอัมพาตสื่อสารผ่านจอมอนิเตอร์(การกระพริบตา) เข้าควบคุมหุ่นยนต์ที่ทำงานในคาเฟ่เสมือน เพื่อที่เขาก็จะสามารถได้ค่าแรงเหมือนคนปกติในโลกความเป็นจริง

Humankind ฝันไม่รู้จบของมนุษยชาติ

ต้องบอกก่อนว่าทุกอย่างบนโลกนี้ไม่ใช่ทุกคนที่จะเห็นชอบกับมัน เช่นอย่างตอนนี้ มีคนที่อยากพัฒนาเทคโนโลยีแบบสุดๆ แล้วก็มีคนที่อยากอยู่กับป่า ซึ่งมันก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ผิด ซึ่งเราคิดว่ามันเป็น Direction หนึ่งมากกว่า ที่เขาอยากจะทำแล้วสามารถ Improve Life ในมุมมองของเขาได้ เราก็เป็นเหมือนเป้าหมายที่ทำให้เขาไปให้ถึง

แน่นอนว่าไม่มีเทคโนโลยีที่มันดี 100% หรือว่าปลอดภัย 100% เหมือนไฟที่มนุษย์เจอมา ตอนนี้เราก็ยังไม่สามารถควบคุมเพลิง หรือภัยธรรมชาติต่างๆ ได้ อย่าง Internet ตอนนี้มันก็มี Cyber Security มาตามเก็บกันทีหลัง

อย่างที่เราเคยอ่าน Sapien เมื่อก่อนเราก็เป็นแบบ Achi Culture เพราะว่าเราไม่อยากอดอยาก เราก็อยากมีอาหารกิน พอตอนนี้เราก็ยังไม่มี บางทีก็อาหารเกิน ต่อมาก็เป็น Giant เพราะอยากจะมีสุขภาพที่แข็งแรง พอเราสุขภาพดี เดี๋ยวก็มีโรคอื่นเข้ามาอีก โควิดมา ยุคถัดไปก็จะเป็นยุค Internet ก็มีปัญหาอีก มันมีไปเรื่อยๆ แหละ ก็เราเป็นมนุษย์

อาจจะเรียกว่าข้อดีก็ได้ ข้อที่ทำให้เราแตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่น คือ มีความฝันแล้วก็สร้างปัญหา และเจนเชื่อว่า ความเป็นมนุษย์นี่แหละที่ฝัน อยากได้ และค่อยมาแก้ปัญหา แล้วก็สร้างปัญหาใหม่ขึ้นมาอีก ต่อไปไม่รู้จบ

…..






Shopping cart0
There are no products in the cart!
Continue shopping